8 มิถุนายน 2559

: มุมมองธุรกิจ "ขยะมีค่ามากกว่าทอง"

               
          สาเหตุที่ปริมาณขยะสูงมากขนาดนี้น่าจะมาจากการที่เราไม่ได้ คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้ขยะจำนวนมากถึงร้อยละ 95 พลาดโอกาสที่จะไปเกิดใหม่ และถูกกำจัดก่อนวัยอันควร ความจริงแล้วการแยกขยะไม่ใช่หน้าที่ของคนเก็บขยะเท่านั้น แต่มันควรจะเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน และการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางนั้นย่อมทำได้ดีกว่าการแยกขยะที่ปลายทาง แถมยังเป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยลดปัญหาโลกร้อนซึ่งเราสามารถทำกันได้ทุกวันอีกด้วย


โดยขยะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ขยะรีไซเคิล สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น กระดาษ พลาสติก โลหะ แก้ว


ขยะแห้ง บางส่วนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้ถ่านหินลิกไนต์ในโรงงานปูนซีเมนต์ เช่น เศษผ้า เศษไม้ กล่องโฟม ถุงพลาสติก


ขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหารต่าง ๆ สามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ หรือทำปุ๋ยชีวภาพได้


ขยะอันตราย
  เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ น้ำมันเครื่องรถยนต์ แบตเตอรี่เก่า


               เราสามารถแยกขยะได้ตั้งแต่ในบ้านของเราเอง แล้วคุณจะประหลาดใจว่าสิ่งที่เราเคยเรียกว่า"ขยะ" นั้น เอาเข้าจริงแล้วแทบจะไม่มีอะไรที่เป็น "ขยะ" จริง ๆ เลย เพราะส่วนใหญ่นั้นล้วนนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อใช้ใหม่ได้ แถมยังเพิ่มเงินในกระเป๋าให้งอกเงยขึ้นทุกวัน ๆ และที่สำคัญยังช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดีด้วย

               ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ กลับมีธุรกิจชนิดหนึ่งเดินหน้าเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมกับกระแสห่วงใยสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือ "ธุรกิจรีไซเคิลขยะ"ทุกครั้งที่เราทิ้งขยะในทุก ๆ วันนั้น นอกจากจะเพิ่มปริมาณขยะแล้ว เรากำลังทิ้งเงินลงไปด้วย

                โดยขยะที่รับซื้อมีอยู่ทั้งหมด 8 ประเภท  ได้แก่  กระดาษ  พลาสติก  โลหะ   เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  เศษอาหาร น้ำมันเก่าใช้แล้ว ขวดแก้ว และขยะอื่น ๆ เช่น แบตเตอรี่ เนื้อมะพร้าว เปลือกสายไฟฟ้า ฯลฯ


                  ขยะที่มีจำนวนมากมายมหาศาลในทุกวันนี้ เกิดมาจากการอำนวยความสะดวกสบายให้มนุษย์เรา จากผลการสำรวจพบว่า คนไทยสร้างขยะสูงถึง 14.63 ล้านตัน หรือประมาณวันละ 40,082 ตัน  เฉลี่ยแล้วเรา ๆ ท่าน ๆ ช่วยกันทิ้งขยะกันปีละ 232 กิโลกรัมต่อคน เฉพาะในกรุงเทพฯแห่งเดียวก็มีปริมาณสูงถึง 9,500 ตันต่อวัน ซึ่งทำให้สูญเสียค่ากำจัดขยะถึงวันละ 9.5 ล้านบาท หรือกว่าปีละ 2,286 ล้านบาท

               ก่อนทิ้งขยะครั้งหน้า อย่าลืมแยกขยะสะสมเอาไว้ นอกจากจะช่วยให้เกิดการนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่แล้ว          ยังได้ค่าขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการตอบแทนด้วย

: โลกสวยด้วยสองมือเรา

โลกสวยด้วยสองมือเรา

          คนมีกิจกรรมที่ทำลายสภาพแวดล้อมให้เสื่อมโทรมได้หลายอย่าง เช่น การหุงหประกอบกาหาร, การใช้รถยนต์พาหนะ, การทิ้งขยะและของเหลือ ใช้ รวมถึงการใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ ทุกครั้งที่คุณประกอบอาหารย่อมทำให้เกิดเศษสิ่งเหลือใช้ และ สิ่งเจอปนเปื้อนในน้ำทิ้งมากมาย น้ำมันหรือไขมันที่ใข้ประกอบอาหาร และเศษอาหารคือตัวการสำคัญของปัญหา ท่อน้ำทิ้งอุดตัน

         ยานพาหนะที่คุณใช้ ไม่ว่ารถจักยานยตน์ รถเก๋ง หรือรถบรรทุก ล้วนเป็นแหล่งก่อมลพิษได้ทั้งสิ้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอจากผู้เป็นเจ้าของ หรือแม้แต่การใช้สารเคมีบางชนิด เช่น  สารเคมีบรรจุกระป๋องที่ใช้กำจัดยุงมด แมลงทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้คุณมี การดูแล และกำจัดอย่างถูกต้องหรือเปล่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องได้รับการแก้ไขและป้องกันเพื่อ เรียกคืนสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับพวกเราทุกคน และคุณก็มีส่วนช่วยดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมได้ ด้วยการร่วมมือ... ปฏิบัติตั้งแต่วันนี้



ขยะมีหลายประเภท การทิ้งหรือกำจัดควรทำให้เหมาะสม
    • แยกชนิดของขยะมูลฝอย ทิ้งลงตามประเภทของขยะ เช่น ขยะเปียกทิ้งลงถังสีเขียว ขยะแห้งทิ้งลงถังสีเหลือง และขยะอันตราย ทิ้งลงถังสีเทาแดง เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการกำจัด
    • ขยะแห้ง ยังมีสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่นแก้ว โลหะ กระดาษ พลาสติก สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก (Recycle) เป็นการลดปริมาณขยะ และสงวนทรัยพากรธรรมชาติได้
    • ขยะอันตราย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุสารฆ่าแมลง สีทินเนอร์ ยาและเครื่องสำอางค์ที่หมด อายุ ควรแยกกำจัดให้เหมาะสม
    • การเผาขยะ เป็นการเพิ่มมลพิษอากาศ และกระจายฝุ่นละออง จึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด
รู้จักเลือกซื้อสินค้า
          สินค้าที่เป็นอันตราย ควรซื้อแค่พอใช้และใช้ให้หมดทุกครั้ง เพื่อลดการทำลายหรือการเหลือทิ้ง เช่น สารฆ่าแมลง
    • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารคลอโรฟูลออโรคาร์บอน หรือซีเอฟซี (CFC) เช่น โฟม กระป๋องสเปรย์ สารทำความเย็นในตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศซึ่งมีผลทำให้ชั้นโอโซนในเบาบาง และไม่ซื้ออาหารที่บรรจุในกล่องโฟม
    • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ถ้วยหรือจานกระดาษ โดยเลือกใช้ภาชนะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
    • ควรใช้ตะกร้าจ่ายตลาด หรือถุงผ้าแทน การใช้ถุงพลาสติก หลาย ๆ ถุง เป็นการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก และปริมาณขยะ
สร้างสวนเพิ่มพื้นที่สีเขียว
           ช่วยกันปลูกและบำรุงต้นไม้ในบ้าน เพราะนอกจากต้นไม้จะช่วยดูดชับความชุ่มชื้นแก่ผิวดิน และ ช่วยลดมลพิษทางอากาศ แล้วยังเพิ่มความ ร่มรื่น สวยงาม และอากาศบริสุทธิ์ให้กับสมาชิกในบ้านด้วย