ปัจจุบันนี้
ปริมาณน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ มีเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการ
เพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร เพราะเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้น
ปริมาณการใช้น้ำก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนสาเหตุ
อื่นที่สำคัญก็คือ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
และน้ำเสียจากการเกษตรกรรม โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ย
และยาฆ่าแมลงในการเกษตร
สำหรับสารปนเปื้อนในน้ำเสียนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1. สารอินทรีย์ จะพบได้ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
น้ำเสียจากบ้านเรือน โดยสาร
อินทรีย์จะเป็นสาเหตุให้น้ำเสียนั้นมีค่า BOD (Biological
Oxygen Demand) สูง
2. สารอนินทรีย์ จะพบได้ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมผงซักฟอก
น้ำเสียจากบ้านเรือน โดย
สารอนินทรีย์จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สาหร่ายและวัชพืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
เช่น ฟอสฟอรัส และ
ไนโตรเจน
3. จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น น้ำเสียที่มาจากโรงพยาบาล
อาจจะมีจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคปน
เปื้อนออกมา เช่น จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง
ไวรัสตับอักเสบ
ดังนั้นการบำบัดน้ำเสียก็คือ การกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ เช่น
สารเคมี และจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสียให้
เหลือน้อยที่สุดที่จะไม่เป็นอันตรายเมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
เช่น แม่น้ำ ลำคลอง
ขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสีย
ขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งได้เป็น
3 ขั้นตอน
ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสีย
1. Primary treatment เป็นขั้นตอนที่มีการกำจัดวัตถุหรือสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดใหญ่ออกก่อน
อาจจะ
โดยการกรองผ่านตะแกรง หรือตกตะกอนของแข็งเหล่านั้นก่อน
จากนั้นจึงจะปล่อยน้ำเสียผ่านสู่ขั้นตอนที่ 2
2. Secondary treatment เป็นขั้นตอนที่จะนำจุลินทรีย์มาช่วยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ
โดยจะย่อยสลายของเสียที่ผ่านมาจากขั้นตอนที่ 1 ที่ยังมีสารอินทรีย์ปนอยู่ โดยในขั้นตอนนี้จะมีการให้
อากาศเพื่อให้จุลินทรีย์พวก aerobic เจริญเติบโต
ส่วนตะกอนที่ได้จากขั้นตอนนี้ก็จะถูกส่งไปยังถังย่อย
ตะกอนที่มีจุลินทรีย์พวก anaerobic เพื่อย่อยสลายต่อไป
น้ำเสียที่ผ่านขั้นตอนนี้แล้วก็จะถูกส่งต่อไปยัง
ขั้นตอนที่ 3 เพื่อกำจัดสารอนินทรีย์ เช่น
ฟอสเฟต และไนเตรต ให้มีปริมาณน้อยลง
3.
Tertiary treatment เป็นขั้นตอนในการลดปริมาณของสารอนินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย
โดยจะ
ใช้วิธีทางเคมีช่วยในการกำจัดฟอสเฟต
และไนเตรตก่อนจะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
จุลินทรีย์ที่ช่วยในการบำบัดน้ำเสีย
จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียใน
Secondary treatment นั้นก็คือ
การใช้จุลินทรีย์ช่วยลดค่า
BOD ในน้ำเสียนั้นให้น้อยลง จากตารางที่ 1 แสดงค่า
BOD ของน้ำเสียจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งในการ
บำบัดน้ำเสียนั้น น้ำที่ได้รับการบำบัดจะต้องมีค่า BOD ลดลงก่อนจะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
Source
|
BOD
(mg/liter)a
|
Domestic sewage
|
200-600
|
Cattle shed and piggery
effluents
|
10,000-25,000
|
Dairies
|
BOD500-2,000
|
Whey from cheese making
|
40,000-50,000
|
Meat packing and processing
|
100-3,000
|
Fruit and vegetable canning
|
200-5,000
|
Sugar refining
|
200-2,000
|
Breweries
|
500-2,000
|
Distilleries
|
>5,000
|
Palm oil processing
|
15,000-25,000
|
a Milligrams of dissolved oxygen
consumed per liter on incubation for 5 days at 20๐C
ตารางที่ 1 แสดงค่า BOD ของน้ำเสียจากแหล่งต่าง
ๆ
สำหรับขั้นตอนในการใช้จุลินทรีย์ช่วยในการบำบัดน้ำเสียนั้นสามารถแบ่งได้
2 ขั้นตอนคือ
1. Aerobic Secondary Treatment Process ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่จุลินทรีย์พวก
aerobic
เจริญเติบโต และย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้เป็นคาร์บอเนต
ไนเตรต แอมโมเนีย ฟอสเฟต และซัลเฟต
โดยขั้นตอนนี้สามารถเลือกได้ 2 วิธีคือ
1.1 Trickling filter tank การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีนี้จะต้องมีถังขนาดใหญ่
โดยในถังจะมีหินเป็น
support material ให้จุลินทรีย์เจริญเป็นฟิล์มเกาะอยู่
จากนั้นน้ำเสียที่ผ่านจากขั้นตอนที่ 1
จะถูกส่งเข้าไปในถังจากส่วนบน
จากนั้นน้ำเสียก็จะซึมผ่านลงสู่ส่วนล่าง โดยจะมีการให้อากาศโดยพ่น
อากาศผ่านตัว support material ดังนั้นจุลินทรีย์พวก
Heterotrophic ก็จะเจริญเกาะเป็นฟิล์ม
บริเวณชั้นบน เช่น แบคทีเรีย พวก Pseudomonas,
Zoogloea ส่วนเชื้อราก็จะเป็นพวกFusarium,
Ascoidea, Trisporon สำหรับจุลินทรีย์ที่เจริญในชั้นล่างส่วนใหญ่จะเป็นพวก
Autotrophic nitrifying
bacteria เช่น Nitrosomonas ซึ่งจะ oxidize แอมโมเนียไปเป็นไนไตรต และ Nitrobacter
จะ oxidize
ไนไตรตไปเป็นไนเตรต
1.2 Activated sludge process การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีนี้จะมีการเติมจุลินทรีย์ลงไปในน้ำเสียที่
ผ่านจากขั้นตอนที่ 1และมีการให้อากาศตลอดเวลา
เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ โดย
จุลินทรีย์ที่ใช้ในขบวนการนี้ก็จะเป็นจุลินทรีย์ พวกเดียวกับจุลินทรีย์ใน
Trickling filter tank แต่จะมี
slime-forming bacteria คือ Zoogloea ramigera เป็นจุลินทรีย์สำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์
เมื่อจุลินทรีย์เจริญขึ้นก็จะจับตัวกันเป็นตะกอนตกอยู่ที่ ก้นถัง
จากนั้นตะกอนเหล่านี้ก็จะถูกส่งต่อไปยังถัง
ที่มีจุลินทรีย์พวก anaerobic เพื่อย่อยสลายต่อไป
สำหรับตะกอนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้จากขั้นตอนนี้สามารถนำกลับมาใช้เป็น
inoculum สำหรับบำบัด
น้ำเสียที่จะเข้ามาใหม่ได้อีก การบำบัดน้ำเสียโดยวิธี Aerobic
Secondary Treatment จะสามารถลดค่า
BOD ได้ถึง 20 mg ออกซิเจนต่อลิตร
2.
Anaerobic Secondary Treatment Process หลังจากการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์
จำพวก aerobic แล้ว
ตะกอนที่เกิดจากการย่อยสลายจะถูกส่งไปยังถังย่อยสลายที่มีจุลินทรีย์พวก
anaerobic จุลินทรีย์พวกนี้ไม่ต้องใช้ออกซิเจนเพื่อการเจริญเติบโต
และตะกอนส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวก
insoluble organic matter เช่น cellulose กระบวนการย่อยสลายจะแบ่งเป็น
2 stage ด้วยกันคือ
acid-forming และ methane-forming (รูปที่ 2)
รูปที่
2 กระบวนการเมตาบอลิซึมของจุลินทรีย์พวก anaerobe
ในการย่อยสลายสารอินทรีย์
จุลินทรีย์ใน acid-forming
stage จะเป็นพวก obligate aerobes ซึ่งจะใช้ไนเตรตเป็น
electron
acceptor สำหรับ methane-forming stage นั้น
จุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นพวก strictly anaerobes
เช่น Methanobacterium Methanobacillus และ Methanococcus ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนอะซิเตต
ไฮไดรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็น มีเทน (CH4)
ได้
น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว
จะมีค่า BOD ลดลงสามารถปล่อยลงสู่
แม่น้ำ ลำคลอง ได้โดยไม่ทำให้
แหล่งน้ำนั้นเน่าเสีย
ส่วนตะกอนที่ได้ก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยได้
วิธีหนึ่งที่จะช่วยในการ
บำบัดน้ำเสียได้คือ การคัดแยกขยะตามประเภทของขยะ
เพราะนอกจากจะช่วยลดปริมาณสารอินทรีย์
และสารอนินทรีย์ในน้ำเสียแล้ว ยังเป็นการ recycle ขยะ และยังเป็นการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่าง
รู้คุณค่าด้วย
................................................
โดย ดร.เยาวพา สุวัตถิ
งานวิจัยอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ
|
หนังสืออ้างอิง
1. Sayler G. S., Fox R. and Blackburn J.W. (eds). Environmental
Biotechnology for
Waste Treatment. New York: Plenum Press, 1990.
2.
Glazer A. N. and Nikaida H. Microbial Biotechnology : Fundamentals
of Applied
Microbiology. New York: W.H. Freeman and Company, 1995.
|