ทะเลและชายฝั่ง นอกจากจะเป็นแหล่งผลิตปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ
อีกหลายชนิดที่เป็นอาหารของคนไทยแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งแล้วยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายและมีคุณค่ามากมาย
แต่ในปัจจุบันแหล่งทรัพยากรชายฝั่งของทะเลไทยเสื่อมโทรมอย่างมาก
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากทะเลเป็นแหล่งสุดท้ายที่ของเสียจากแหล่งต่างๆ
ซึ่งถูกพัดมาตามลำน้ำแล้วสะสมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณอ่าวไทย
ซึ่งมีแม่น้ำที่สำคัญถึงสี่สายไหลไปรวมกันคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางประกง
และยังมีสาเหตุสำคัญมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วบริเวณชายฝั่ง
ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย
โดยไม่คำนึงถึงความเสื่อมโทรที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมในภาคการเกษตร
อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดปัญหาจนเกิดเป็นมลพิษทางทะเลน้ำทะเลเสื่อมคุณภาพ
และยังสร้างความเสียหายต่อพืชและสัตว์ที่อยู่อาศัยในทะเลและบริเวณชายฝั่ง
และความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ก็ส่งผลย้อนกลับมายังมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่นดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ผลกระทบด้านสุขภาพ
หรืออาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางสังคม เป็นต้น
มลพิษทางทะเล หมายถึง การที่มนุษย์นำเอาสิ่งต่างๆ ลงสู่สิ่งแวดล้อมในทะเล
เช่นน้ำเสีย ขยะ ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือไม่ หรือจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เมื่อการกระทำนั้นก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต
เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ หรือการทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในทะเลเสื่อมล
และทำให้คุณค่าทางสุนทรียภาพลดลง
แหล่งกำเนิดมลพิษ
1. แหล่งกำเนิดมลพิษจากชายฝั่ง
ที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดคือ ชุมชน
สถานที่ท่องเที่ยว และแหล่งอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ท่าเรือ
ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล และริมฝั่งแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล
ซึ่งกิจกรรมจากชายฝั่งดังกล่าทำให้ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งและในทะเลเสื่อมโทรมลง
2.
แหล่งกำเนิดมลพิษในทะเล
เกิดจากกิจกรรมในทะเลที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้แก่
การเดินเรือ การทำประมง
และท่าเทียบเรือบริเวณชายฝั่งทำให้ทะเลมีการปนเปื้อนของน้ำมันที่รั่วไหล นอกจากนี้
การขุดร่องน้ำ การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ
และการทำเหมืองแร่ในทะเลก่อให้เกิดการฟุ้งกระจาย
และเกิดการปนเปื้อนของสารมลพิษรวมทั้งปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี
ซึ่งทำให้น้ำทะเลเกิดการเน่าเสียและเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
แหล่งกำเนิดมลพิษจากชายฝั่งทะเล
ชุมชน Communities
ชุมชน โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำที่มีขุมชนหนาแน่น เป็นแหล่งก่อให้เกิดมลพิษจากกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านเรือน ตลาดสด สำนักงาน โรงพยาบาล เช่น น้ำล้างจาน น้ำซักเสื้อผ้า ของเสียจากอาคารสำนักงานต่างๆ เป็นต้น ซึ่งน้ำทิ้งดังกล่าวมีความสกปรกสูง เช่น ปริมาณฟอสฟอรัสและไนโตรเจนสูง ทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ต้องใช้ออกซิเจนในการสังเคราะห์แสงมากขึ้น จนทำให้แหล่งน้ำเกิดภาวะขาดออกซิเจน และเสื่อมคุณภาพได้ | |||||||||||||
ส่วนขยะหรือของเสียที่เป็นของแข็ง ได้แก่ โฟม ยาง ขวดแก้ว
และวัสดุที่ทำจากพลาสติกต่างๆ อาจมีอันตรายต่อสัตว์น้ำเพราะคิดว่าเป็นอาหาร
เนื่องจากขยะดังกล่าวใช้เวลาในการย่อยสลายนาน เช่น ตั๋วรถเมล์ มีอายุ 2-4 สัปดาห์
ผ้าฝ้ายมีอายุ 1-5 เดือน เชือกมีอายุ 3-14 เดือน ไม้มีอายุ 13 ปี
กระป๋องอลูมิเนียมมีอายุ 200-300 ปี ขวดพลาสติกมีอายุ 450 ปี โฟมมีอายุ 500 ปี
(บนดิน) ขวดแก้วไม่สามารถย่อยสลายได้
ของเสียและขยะเหล่านี้มักจะมาจากชุมชนที่ติดกับแม่น้ำที่ไหลสู่ทะเลหรือชุมชนที่อยู่ติดกับทะเล
(การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,2540)
ของเสียที่ถูกทิ้งดังกล่าวเมื่อถูกพัดเข้าสู่ชายฝั่งจะทำให้บริเวณนั้นสกปรก
เสียทัศนียภาพ และไม่เหมาะแก่การท่องเที่ยว
|
![]() |
บริเวณท่าเรือส่วนใหญ่มีการรั่วไหลของน้ำมันจากการซ่อมเครื่องยนต์การถ่ายน้ำมันเครื่อง
น้ำทิ้งจากท้องเรือ และการทำความสะอาดเรือ ส่วนท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลา
พบว่าน้ำทิ้งจากการล้างทำความสะอาดสัตว์น้ำแปรรูปสัตว์น้ำ
การล้างทำความสะอาดท่าและเรือประมง ไหลลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง
โดยไม่ผ่านการดักเศษชิ้นส่วนสัตว์น้ำและระบบบำบัดใด จึงมักมีคราบไขมัน
เศษซากสัตว์น้ำ และเศษขยะมูลฝอยลอยอยู่บนผิวน้ำ
ซึ่งน้ำทิ้งเหล่านี้จะมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนเป็นจำนวนมาก
มีผลต่อคุณภาพน้ำและสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น
|
![]() จะเห็นได้ว่าน้ำทิ้งจากแพปลามีค่าความสกปรกสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกีบแหล่งกำเนิดมลพิษอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น |
จากการสำรวจค่าความสกปรกในรูปบีโอดีของแพปลาในลุ่มน้ำภาคใต้เฉลี่ยเท่ากับ 6,856 มิลลิกรัมต่อลิตร (กรมควบคุมมลพิษ, 2541) ส่วนบริเวณสะพานปลากรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ในช่วงที่มีกิจกรรมหนาแน่นพบปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดีอยู่ในช่วง 5,170 - 6,280 มิลลิกรัมต่อลิตร ตะกอนแขวนลอยมีค่า 7,334 - 20,850 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าไขมันและน้ำมันระหว่าง 110-750 มิลลิกรัมต่อลิตร และไนโตรเจนทั้งหมดมีค่า 46-145 มิลลิกรัมต่อลิตร |
แหล่งกำเนิดมลพิษในทะเล
![]() จะเห็นได้ว่าน้ำทิ้งจากแพปลามีค่าความสกปรกสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกีบแหล่งกำเนิดมลพิษอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น |
จากการสำรวจค่าความสกปรกในรูปบีโอดีของแพปลาในลุ่มน้ำภาคใต้เฉลี่ยเท่ากับ 6,856 มิลลิกรัมต่อลิตร (กรมควบคุมมลพิษ, 2541) ส่วนบริเวณสะพานปลากรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ในช่วงที่มีกิจกรรมหนาแน่นพบปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดีอยู่ในช่วง 5,170 - 6,280 มิลลิกรัมต่อลิตร ตะกอนแขวนลอยมีค่า 7,334 - 20,850 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าไขมันและน้ำมันระหว่าง 110-750 มิลลิกรัมต่อลิตร และไนโตรเจนทั้งหมดมีค่า 46-145 มิลลิกรัมต่อลิตร |
เกิดจากอุบัติเหตุทางเรือ เช่น เรือชนกัน การอับปางของเรือ
และกิจกรรมการเดินเรือ ได้แก่ การถ่ายน้ำมันเครื่อง การระบายน้ำในท้องเรือ
การขนถ่ายน้ำมัน การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันในทะเล
น้ำทิ้งเหล่านี้ล้วนปนเปื้อนน้ำมันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล เนื่องจากน้ำมันบนผิวน้ำไปขัดขวางการถ่ายเทก๊าซออกซิเจนระหว่างอากาศและน้ำ ทำให้สัตว์น้ำขาดออกซิเจนและรากต้นไม้ในป่าชายเลนไม่สามารถหายใจได้ จึงเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ส่วนคราบน้ำมันจะเคลือบขนของสัตว์และถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ยับยั้งการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต โดยเฉพาะไข่นกจะไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้
นอกจากนี้คราบน้ำมันยังปิดกั้นแสงสว่างที่สองลงมาสู่พื้นท้องน้ำมีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ น้ำมันที่ความเข้มข้นสูงอาจทำให้สัตว์น้ำตายได้ (ความเข้มข้น 1-3 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลานานกว่า 96 ชั่วโมง) น้ำมันที่มีความหนาแน่นสูงเมื่อจมลงสู่พื้นท้องทะเลมีผลต่อสัตว์หน้าดิน ผลกระทบที่กล่าวมานี้จะทำให้สุนทรียภาพและความงามของแหล่งท่องเที่ยวหมดไป พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของน้ำมันสูงมาก ได้แก่ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ชายฝั่งศรีราชา บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยตอนบนถึงอ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
![]() |
บริเวณชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยฝั่งตะวันออก มักมีการลักลอบถ่ายน้ำทิ้งปนเปื้อนน้ำมันลงทะเลทำให้เกิดคราบน้ำมันขึ้นบนชายหาด โดยเฉพาะจังหวัดระยอง ซึ่งต้องใช้กำลังคนทำความสะอาดชายฝั่ง |
น้ำทิ้งเหล่านี้ล้วนปนเปื้อนน้ำมันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล เนื่องจากน้ำมันบนผิวน้ำไปขัดขวางการถ่ายเทก๊าซออกซิเจนระหว่างอากาศและน้ำ ทำให้สัตว์น้ำขาดออกซิเจนและรากต้นไม้ในป่าชายเลนไม่สามารถหายใจได้ จึงเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ส่วนคราบน้ำมันจะเคลือบขนของสัตว์และถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ยับยั้งการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต โดยเฉพาะไข่นกจะไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้
นอกจากนี้คราบน้ำมันยังปิดกั้นแสงสว่างที่สองลงมาสู่พื้นท้องน้ำมีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ น้ำมันที่ความเข้มข้นสูงอาจทำให้สัตว์น้ำตายได้ (ความเข้มข้น 1-3 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลานานกว่า 96 ชั่วโมง) น้ำมันที่มีความหนาแน่นสูงเมื่อจมลงสู่พื้นท้องทะเลมีผลต่อสัตว์หน้าดิน ผลกระทบที่กล่าวมานี้จะทำให้สุนทรียภาพและความงามของแหล่งท่องเที่ยวหมดไป พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของน้ำมันสูงมาก ได้แก่ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ชายฝั่งศรีราชา บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยตอนบนถึงอ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
![]() |
สาเหตุที่ก่อให้เกิดน้ำมันรั่วไหลในประเทศไทยมากที่สุด (พ.ศ. 2516-2541) คือ การลักลอบปล่อยน้ำมันจากท้องเรือและน้ำมันเครื่อง รองมาคือ การรั่วไหลระหว่างการขนถ่ายน้ำมัน |
ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีหรือที่ชาวประมงหรือว่า "ขี้ปลาวาฬ"
เกิดจากแพลงก์ตอนพืชบางชนิดที่รับธาตุอาหาร โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
และสภาวะที่เหมาะสมจึงเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นรวดเร็ว
ทำให้น้ำทะเลมีสีที่เปลี่ยนไปตามสีของแพลงก์ตอนที่มีมาก
แพลงก์ตอนที่เป็นสาเหตุของการเกิดน้ำเปลี่ยนสีในอ่าวไทยที่พบเสมอ คือ Trichodesmium erythraeum Ehr. จะทำให้น้ำมีสีเหลืองอมเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเทาและน้ำตาลแดงในเวลาต่อมา และ Noctiluca scintillans (Macartney) Kofoid จะทำให้เป็นสีเขียว (เป็นแพลงก์ตอนไม่มีพิษทั้ง 2 ชนิด) ส่วนมากน้ำเปลี่ยนสีที่เกิดจาก Noctiluca จะเกิดบริเวณใกล้ฝั่งโดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ และในอ่าวไทยที่มีที่กำบังคลื่มลมน้ำเปลี่ยนสีที่เกิดจากไดอะตอมจะมีสีขาวเป็นเมือกเหนียว
แพลงก์ตอนที่เป็นสาเหตุของการเกิดน้ำเปลี่ยนสีในอ่าวไทยที่พบเสมอ คือ Trichodesmium erythraeum Ehr. จะทำให้น้ำมีสีเหลืองอมเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเทาและน้ำตาลแดงในเวลาต่อมา และ Noctiluca scintillans (Macartney) Kofoid จะทำให้เป็นสีเขียว (เป็นแพลงก์ตอนไม่มีพิษทั้ง 2 ชนิด) ส่วนมากน้ำเปลี่ยนสีที่เกิดจาก Noctiluca จะเกิดบริเวณใกล้ฝั่งโดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ และในอ่าวไทยที่มีที่กำบังคลื่มลมน้ำเปลี่ยนสีที่เกิดจากไดอะตอมจะมีสีขาวเป็นเมือกเหนียว
![]() |
เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2537 สำรวจปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีบริเวณชายฝั่งทะเล อ. พระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ |
การเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี ทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ (DO)
น้อยลงจนถึงระดับที่สัตว์น้ำไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
หรือเกิดจากการอุดตันในช่องเหงือกโดยแพลงก์ตอน
รวมทั้งการตายลงของแพลงก์ตอนพืชทำให้น้ำทะเลเกิดการเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น
ชายฝั่งสกปรก ทำลายทัศนียภาพและการท่องเที่ยว
นอกจากนี้การบริโภคสัตว์น้ำที่สะสมสารพิษจากแพลงก์ตอนพืช โดยเฉพาะพวกหอยต่างๆ
อาจทำให้เกิดโรคพิษอัมพาต ซึ่งมีรายงานพบในประเทศฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย
และประเทศมาเลเซีย
ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏว่ามีน้ำเปลี่ยนสีที่เกิดจากแพลงก์ตอนที่พิษ
แม้ว่าในเดือนพฤษภาคม 2526 จะพบหอยแมลงภู่เป็นพิษบริเวณปากแม่น้ำปราณบุรี
แต่สาเหตุของการเกิดพิษครั้งนั้นยังไม่อาจพิสูจน์ได้
ระหว่างปี พ.ศ.2524-2530 พบว่ามีปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีถึง 43 ครั้ง
โดยปกติจะพบเสมอในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม และในปี 2526
ได้เกิดน้ำเปลี่ยนสีครั้งสำคัญเกิดจาก Trichodesmium erythraeum
แพร่กระจายกว้างประมาณ 7,000 ตารางกิโลเมตร จากฝั่งตะวันออกจรดอ่าวไทยตอนใน
และปรากฏอยู่นานจากเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน
การขุดลอกพื้นที่เพื่อจัดทำแนวร่องน้ำเข้าท่าเรือ มี 2 ขั้นตอน คือ การเคลื่อนย้ายดินตะกอนจากพื้นท้องน้ำ และการทิ้งดินตะกอน ก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณตะกอนและสารแขวนลอยในน้ำ การเพิ่มความขุ่นของน้ำการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นท้องน้ำ (ถ้ากรณีที่ทิ้งดินตะกอนในทะเลการเปลี่ยนแปลงจะเกิดจากการทับถมของตะกอนดิน) กรณีทิ้งดินตะกอนบนฝั่งอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะอุทกวิทยาของพื้นที่ เช่น ทิศทางการไหลของน้ำผิวดิน และการเปลี่ยนแปลงลักษณะสมุทรศาสตร์ชายฝั่ง การฟุ้งกระจายของสารอาหารและสารเป็นพิษ การเปลี่ยนแปลงปริมาณของพืชและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนท้องน้ำ
การเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมาข้างต้นจะมีความรุนแรงจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมมากเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับระดับของการเปลี่ยนแปลง
สถานภาพและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ
ซึ่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมประเด็นหลักได้แก่ ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ
ระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตในน้ำ การประมง การท่องเที่ยว เป็นต้นการขุดลอกพื้นที่เพื่อจัดทำแนวร่องน้ำเข้าท่าเรือ มี 2 ขั้นตอน คือ การเคลื่อนย้ายดินตะกอนจากพื้นท้องน้ำ และการทิ้งดินตะกอน ก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณตะกอนและสารแขวนลอยในน้ำ การเพิ่มความขุ่นของน้ำการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นท้องน้ำ (ถ้ากรณีที่ทิ้งดินตะกอนในทะเลการเปลี่ยนแปลงจะเกิดจากการทับถมของตะกอนดิน) กรณีทิ้งดินตะกอนบนฝั่งอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะอุทกวิทยาของพื้นที่ เช่น ทิศทางการไหลของน้ำผิวดิน และการเปลี่ยนแปลงลักษณะสมุทรศาสตร์ชายฝั่ง การฟุ้งกระจายของสารอาหารและสารเป็นพิษ การเปลี่ยนแปลงปริมาณของพืชและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนท้องน้ำ
![]() |
ในประเทศไทยได้ขุดดินเพื่อรักษาร่องน้ำ ประมาณ 8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยในปี 2540 ได้ขุดลอกร่องน้ำสำหรับเป็นเส้นทางเดินเรือ 13 เส้นทาง |
![]() ปัจจุบันในอ่าวไทยมีแท่นขุดเจาะ ก๊าซธรรมชาติอยู่ประมาณ 180 แท่น รูปทางขวามือแสดงบริเวณ ที่มีแท่นเจาะก๊าซในอ่าวไทย |
![]() |
ในก๊าซธรรมชาติและตะกรันที่เกิดจากกระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติมีสารปรอทอยู่
แม้แต่น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดเบื้องต้นแล้วยังพบว่ามีสารปรอทเจือปนอยู่ร้อยละ 4
ซึ่งหากไม่มีการจัดการอย่างถูกวิธีจะทำให้สารปรอทแพร่ออกสู่ทะเลในที่สุด
ปัจจุบันปริมาณสารปรอทในอ่าวไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ยังไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง (มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งกำหนดปริมาณปรอทไว้ไม่เกิน 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร) อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตในทะเลสามารถสะสมปรอทไว้ในเนื้อเยื่อได้สูงหลายเท่าตัวของความเข้มข้นปรอทในน้ำ ทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ อาทิ ความผิดปกติในการวางไข่ และการเจริญของตัวอ่อนสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง หอย เมื่อคนบริโภคสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดการสะสมปรอทในไต ตับ สมอง และทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง สารมลพิษจากการทำเหมืองแร่นี้ คือ ตะกอนที่เกิดจากการขุดและล้างแร่จะฟุ้งกระจายและถูกพัดพาไปในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากการแพร่กระจายของตะกอนทำให้น้ำขุ่นเป็นการทำลายความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว และไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปะการัง สัตว์น้ำวัยอ่อนและสัตว์น้ำที่มีคุณค่าเศรษฐกิจ
|
![]() |
โดยตะกอนอาจไปอุดตันตามเหงือก หรือตกทับอยู่บนตัวสัตว์น้ำ
เนื่องจากพื้นที่ประทานบัตรเหมืองแร่ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณป่าชายเลนและบริเวณใกล้เคียง
จึงมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ป่าชายเลนและการประมง
นอกจากนี้ตะกอนที่เกิดขึ้นจะลดการส่องผ่านของแสงลงสู่แหล่งน้ำ
ทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชลดลง การทำเหมืองแร่ในทะเลจึงส่งผลกระทบ
อย่างมากต่อระบบนิเวศน์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ
ไนประเทศไทยมีกิจกรรมการทำเหมืองแร่มากทางชายฝั่งทะเลภาคใต้
ซึ่งเป็นแหล่งแร่ดีบุกของประเทศ โดยเฉพาะทางฝั่งทะเลอันดามันแถบจังหวัดระนอง พังงา
ภูเก็ต
ซึ่งในปัจจุบันได้หยุดทำเหมืองดีบุกไปเนื่องจากราคาดีบุกในตลาดโลกตกต่ำลง
|
แนวทางการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางทะเล
1. การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล
เพื่อทราบสถานการณ์ของคุณภาพน้ำทะเล
และสถานการณ์ของมลพิษทางทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
นอกจากนี้ยังนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง
โดยเฉพาะบริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม และจัดทำมาตรการการจัดการมลพิษทางทะเล
กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการสำรวจคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทะเลทั่วประเทศเป็นประจำทุกปี
โดยเฉพาะบริเวณที่คุณภาพน้ำทะเลมีแนวโน้มเสื่อมโทรม
จะมีการติดตามตรวจสอบหลายครั้งต่อปีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสถานการณ์เพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดมลพิษและควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย![]() |
การแก้ไขมลพิษทางทะเล ไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของคนไทยทุกคนเพื่อรักษาและฟื้นฟูให้ท้องทะเลไทยกลับคืนสู่ความสมบูรณ์สวยงามอีกครั้ง |
2. กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ
กรมควบคุมมลพิษได้ประกาศมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษบริเวณชายฝั่งที่มีผลต่อคุณภาพน้ำทะเล
เช่น มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน มาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม
เพื่อควบคุมการพัฒนากิจกรรมบริเวณชายฝั่งที่มีอยู่อย่างเคร่งครัดและป้องกันไม่ให้ปล่อยสารมลพิษลงสู่ทะเลมากจนเกินไป
จนก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางทะเลได้
โดยหากเจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
3. จัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูคุณภาพแหล่งน้ำและน้ำทะเลชายฝั่ง
ในการป้องกันและแก้ไขความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในบริเวณตอนล่างของแม่น้ำหรือบริเวณชายฝั่ง
กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการศึกษาโครงการการจัดการคุณภาพน้ำและจัดทำแผนปฏิบัติการในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคตะวันออก
และลุ่มน้ำภาคใต้
และโครงการจัดการคุณภาพน้ำและจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางน้ำในเขตชุมชน
และกิจกรรมจากชุมชน ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบริเวณตอนล่างของแม่น้ำและชายฝั่งทะเล
โครงการดังกล่าว
จะช่วยในการพิจารณาจัดทำแผนการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนพร้อมทั้งเสนอมาตรการต่างๆ
ในการลดปริมาณมลพิษแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
4. พัฒนาเทคโนโลยีในการลดมลพิษทางทะเล
กรมควบคุมมลพิษ ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ที่ใช้คาดการณ์แนวทางการเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันในทะเล
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการขจัดคราบน้ำมัน
และระบบประเมินความเสี่ยงการเกิดคราบน้ำมันในทะเล
เพื่อใช้เป็นแนวในการเลือกเทคนิคขจัดคราบน้ำมันที่มีความเหมาะสม
และมีประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างที่เกิดขึ้นน้ำมันรั่วไหลในทะเล
5. จัดทำแผนการจัดการ แนวทาง
และมาตรการการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ในชุมชน
ท้องถิ่นและเขตควบคุมมลพิษ เช่น เขตควบคุมมลพิษจังหวัดภูเก็ต
นอกจากนี้กรมควบคุมมลพิษจะทำการสำรวจข้อมูลด้นการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของชุมชน
เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศ
และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียจากมูลฝอยแบบประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่าย
6. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และจิตสำนึกด้านอนุรักษ์
แก่ประชาชน
โดยทางภาครัฐและเอกชนได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ และกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรทางทะเล
และให้ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล
สำหรับกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำรายงานคุณภาพน้ำชายฝั่งทะเล
และเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการมลพิษทางทะเล
7. แผนปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อป้องกันและแก้ไขมลพิษทางทะเล
ได้จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน ในการขจัดคราบน้ำมันสำหรับกรมควบคุมมลพิษ
เพื่อจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานและโครงสร้างของการปฏิบัติการต่างๆ
ในการรับแจ้งข่าวการเกิดคราบน้ำมันในทะเลขั้นต้น ตลอดจนการทำความสะอาดคราบน้ำมัน
แผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมจากการเกิดคราบน้ำมัน
ไปจนถึงการทำการฟ้องร้องค่าเสียหายต่างๆ
เพื่อป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากน้ำมันรั่วไหล
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : ทะเลไทยกับการใช้ประโยชน์
- มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเทศไทย