11 เมษายน 2560

: การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคขยะและของเสีย


: การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคขยะและของเสีย


การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการจัดการขยะและของเสียคิดเป็นส่วนน้อยของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งหมด ภาคส่วนนี้จึงอยู่ในฐานะผู้ประหยัดก๊าซเรือนกระจกให้กับภาคส่วนอื่นๆ ด้วยการป้องกันการเกิดขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (UNEP, 2010)
มาตรการที่สามารถนำมาใช้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนนี้ ได้แก่ การนำก๊าซมีเทนที่เกิดจากการฝังกลบขยะมูลฝอยมาใช้ใหม่ การใช้เตาเผาขยะที่มีการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ การทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ การบำบัดน้ำเสีย การรีไซเคิลและการลดจำนวนขยะให้เหลือน้อยที่สุด (IPCC, 2550)
ในส่วนของขยะจากการบริโภค (Post-consumer waste) นับเป็นส่วนน้อยที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด โดยส่วนประกอบหลักของก๊าซเรือนกระจกส่วนนี้ ประกอบด้วยก๊าซมีเทนที่เกิดจากการนำขยะไปฝังกลบ ก๊าซมีเทนที่เกิดจากน้ำเสีย และก๊าซไนตรัสออกไซด์ นอกจากนี้ ยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกเล็กน้อย ที่เกิดจากการเผาขยะที่มีคาร์บอน (เช่น พลาสติก และวัตถุสิ่งทอสังเคราะห์)
การทำให้ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากขยะและของเสียลดน้อยลง สามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น การนำก๊าซที่เกิดจากขยะที่ถูกฝังกลบมาใช้ (เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทน) การนำขยะจากการบริโภคมาใช้ใหม่ (เพื่อป้องกันการสร้างขยะ) การทำปุ๋ยจากขยะและของเสีย (เพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) รวมไปถึงการดำเนินกระบวนการที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าการนำขยะไปฝังกลบ (กระบวนการที่ใช้ความร้อน เช่น การกำจัดขยะโดยการเผา กระบวนการเผาไหม้ร่วมกันทางอุตสาหกรรม การบำบัดโดยวิธีเชิงกลชีวภาพ (Mechanical Biological Treatment (MBT)) และการย่อยสลายโดยไม่ใช้ออกซิเจน) ดังนั้น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขยะและของเสีย ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่หลากหลาย โดยการนำเทคโนโลยีต่างๆ ไปประยุกต์ใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับแรงผลักดันจากระดับท้องถิ่น ประเทศ และภูมิภาค ในการบริหารจัดการขยะและของเสีย และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก



           ที่มา: Environment, 2016 ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม
                                         กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   

             
                                  

: การละลายของแผ่นภูเขาน้ำแข็ง

: การละลายของแผ่นภูเขาน้ำแข็ง



แผ่นภูเขาน้ำแข็งคือมวลดินแดนน้ำแข็งกลาเซียร์ขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ขนาด 50,000 ตารางกิโลเมตร (20,000 ตารางไมล์) ปัจจุบันนี้ โลกมีแผ่นภูเขาน้ำแข็งที่สำคัญซึ่งครอบคลุมทวีปกรีนแลนด์ (Greenland) และแอนตาร์กติกา (Antarctica) ทั้งสองดินแดนภูเขาน้ำแข็งนี้เป็นแหล่งน้ำแข็งที่บรรจุน้ำจืดถึงร้อยละ 99 ของแหล่งน้ำทั้งหมดในโลกใบนี้ แผ่นภูเขาน้ำแข็งแอนตาร์ติคมีขนาดประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตร (5.4 ล้านตารางไมล์) และมีน้ำแข็ง 30 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (7.1 ล้านลูกบาศก์ไมล์) ภูเขาน้ำแข็งกรีนแลนด์มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านตารางกิโลเมตร (656,000 ตารางไมล์) และภูเขาน้ำแข็งครอบคลุมทั้งทวีปกรีนแลนด์เป็นส่วนใหญ่ (NSIDC).

ดินแดนขั้วโลกมีความสำคัญในการขับเคลื่อนสภาพภูมิอากาศของโลก เมื่อโลกมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับความร้อนในมหาสมุทร ทำให้เกิดการละลายของภูเขาน้ำแข็งที่ดูดซับความร้อนจากมหาสมุทรบริเวณโดยรอบ เมื่อภูเขาน้ำแข็งละลาย ส่งผลต่อการลดลงของแหล่งน้ำจืดจากภูเขาน้ำแข็ง เกิดการเปลี่ยนแปลงของทิศทางของกระแสน้ำในมหาสมุทร และสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อมูลจากองค์การนาซ่า (NASA) จากการสำรวจผ่านสัญญาณดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าแผ่นภูเขาน้ำแข็งในทั้งทวีปแอนตาร์กติกาและทวีปกรีนแลนด์ที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาน้ำแข็งได้สูญเสียมวลน้ำแข็งไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ทวีปแอนตาร์กติกาได้สูญเสียแผ่นภูเขาน้ำแข็งไปแล้ว 134 พันล้านเมตริกตัน/ปี ในขณะที่ทวีปกรีนแลนด์ได้ได้สูญเสียแผ่นภูเขาน้ำแข็งไปแล้ว 287 พันล้านเมตริกตัน/ปี ดังรูป



           ที่มา: Environment, 2016 ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม
                                         กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   

: การท่องเที่ยวกับการตั้งรับภัยพิบัติในประเทศไทย


: การท่องเที่ยวกับการตั้งรับภัยพิบัติในประเทศไทย



          การท่องเที่ยวมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทุกประเภท ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใด ๆ มักทำให้การท่องเที่ยวซบเซา เนื่องจากนักท่องเที่ยวขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยและสวัสดิภาพ ภัยพิบัติส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นโรงแรม รีสอร์ต บริการนำเที่ยว และผู้ประกอบธุรกิจในสถานที่ท่องเที่ยวขาดรายได้ ต้องเสียทั้งงบประมาณในการซ่อมแซมฟื้นฟู และต้องใช้เวลาสร้างความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวให้กลับคืนมา
การสำรวจสถานที่ท่องเที่ยวและสถานประกอบการเพื่อประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติจึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกเพื่อให้รู้ว่าหากเกิดภัยจะต้องดูแลป้องกันส่วนใดก่อนเป็นอันดับแรก หรือมีส่วนใดที่ต้องดูแลรักษาไม่ให้เกิดความเสียหายโดยเด็ดขาด เช่น สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมหรือสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นมรดกโลก นอกจากนี้ การพิจารณามาตรการที่จำเป็นในการลดความเสี่ยง ทั้งการเตรียมพร้อม ปรับตัวและรับมือของภาคการท่องเที่ยวเพื่อความปลอดภัยของกิจการ และเพื่อให้นักท่องเที่ยวมั่นใจในศักยภาพของพื้นที่ก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
มาตรการเตรียมรับมือภัยพิบัติ
1. มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ
1.1   มาตรการที่ใช้โครงสร้าง
1.1.1         ก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท สถานประกอบการให้มีโครงสร้างแข็งแรงได้มาตรฐาน โดยเฉพาะหากตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ
1.1.2         ใช้โครงสร้างป้องกันน้ำท่วมในสถานประกอบการ สถานที่ท่องเที่ยวและโบราณสถานในพื้นที่น้ำท่วมถึง
1.2   มาตรการที่ไม่ใช้โครงสร้าง
1.2.1         หลีกเลี่ยงการเลือกทำเลที่ตั้งของกิจการในพื้นที่ล่อแหลม โดยเฉพาะการบุกรุกก่อสร้างในพื้นที่ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังทำลายระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และยังเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติด้วย
1.2.2         จัดระบบและจัดทำแผนรักษาความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวโดยมีผู้เชี่ยวชาญและมีทักษะดูแล
1.2.3         จัดระบบการทิ้งและกำจัดขยะ ของเสีย น้ำเสีย จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลในสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
2. มาตรการเตรียมความพร้อม
1.3   การปรับตัว
1.3.1         ส่งเสริมและสนับสนุนข้าราชการ ตำรวจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ อาสาสมัคร พนักงานและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ ฯลฯ ให้สื่อสารภาษาต่างประเทศได้ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้
1.3.2         จัดทำแผนที่บอกเส้นทาง ปรับปรุงระบบป้ายสาธารณะให้ชัดเจน และติดตั้งในแหล่งชุมชน
1.4   การเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ
1.4.1         กำหนดเส้นทางอพยพ วิธีการอพยพและจุดปลอดภัย รวมถึงมีป้ายบอกเส้นทางที่ชัดเจน เช่นเดียวกับเส้นทางหนีไฟในโรงแรม
1.4.2         ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและพนักงานเรื่องความปลอดภัยและข้อปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ รวมทั้งแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน
1.4.3         ซ้อมแผนอพยพหนีไฟ และร่วมซ้อมแผนอพยพคลื่นสึนามิ (ในกรณีอยู่ในพื้นที่เสี่ยง) ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และชุมชน
1.4.4         จัดเตรียมอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย และติดตั้งระบบดับเพลิงที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบให้สามารถใช้งานได้เมื่อเกิดภัย
1.4.5         เตรียมพร้อมด้านการช่วยเหลือพนักงานและนักท่องเที่ยวหากเกิดภัย
1.4.6         จัดเตรียมอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องใช้เพื่อการยังชีพเก็บไว้ในจุดปลอดภัย และตรวจสอบวันหมดอายุอยู่เสมอ
1.4.7         เตรียมพร้อมระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีช่องทางรับส่งข้อมูลข่าวสารหลายช่องทางเพื่อการแจ้งเตือนภัย และสามารถสื่อสารให้นักท่องเที่ยวรับทราบและเข้าใจได้ทันเวลาและทันท่วงที ตลอดจนจัดเตรียมระบบสื่อสารสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
1.4.8         จัดทำเอกสารแนะนำเรื่องความปลอดภัยไว้ในโรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยว เช่น แผ่นพับประชาสัมพันธ์ หรือสื่อวิดีทัศน์ หลากหลายภาษา เพื่อให้ข้อมูลเรื่องภัยพิบัติ การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภัย เส้นทางอพยพ พื้นที่ปลอดภัย

1.4.9         ทำประกันความเสียหายหากเกิดภัยต่าง ๆ

                         ที่มา: Environment, 2016  ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม 
                            กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  

: ภัยเสี่ยงที่มาพร้อมกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน

: ภัยเสี่ยงที่มาพร้อมกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน

โรงไฟฟ้าถ่านหินปล่อยสารพิษอันตรายหลากหลายชนิดออกมา ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน แหล่งน้ำ และมลพิษทางอากาศ รวมถึงก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย และซ้ำร้ายอาจถึงชีวิต ลองมาทำความรู้จักกับอันตรายที่แฝงมากับถ่านหินที่ซุกซ่อนภัยมืดคุกคามสุขภาพของผู้คน


ผลจากการศึกษาวิจัยของกลุ่มแพทย์ในสหรัฐอเมริกา องค์กรแพทย์เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (Physicians for Social Responsibility: PSR)  ได้เผยว่ามลพิษจากการเผาผลาญถ่านหินนั้นคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก ซึ่งสำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีอัตราการเสียชีวิตจากมลพิษถ่านหินสูงถึงหลายหมื่นคน ต่อปี และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคทางระบบประสาท ทางเดินหายใจ หอบหืด โรคหัวใจ และอาจเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็ง ด้วยมลพิษจากถ่านหินสูงถึงสี่ในห้าของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วสหรัฐอเมริกา เหมืองถ่านหิน ดังเช่นเหมืองของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะนั้นเป็นแหล่งกำเนิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจในคนงานเหมือง และทำลายสิ่งแวดล้อมรอบตัวเหมืองและโรงไฟฟ้า  ทั้งดิน น้ำ และอากาศที่อยู่ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินก็ต่างได้รับมลพิษปนเปื้อน อีกทั้งยังปลดปล่อยสารพิษมหาศาลไปในรัศมีไกล ชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโรงไฟฟ้าต่างได้รับผลกระทบในชีวิตประจำวัน ทั้งทางสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่
จากเหมืองขึ้นสู่ท้องฟ้า จากการขุดเจาะไปจนถึงการเผาไหม้ ก่อให้เกิดมลพิษในทุกขั้นตอนการผลิต โรงไฟฟ้าถ่านหินปลดปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ โดยมลพิษหลักนั้นได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ฝุ่น และปรอท ซึ่งไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะใช้ดักจับปรอทที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีสารโลหะหนักต่างๆ เช่น อาร์เซนิก แบรีเลี่ยม แคดเมี่ยม โครเมี่ยม ตะกั่ว แมงกานีส นิกเกิล เรเดี่ยม เซลีเนี่ยมและโลหะชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่ในผงฝุ่นที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วย สารพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นจะวนเวียนอยู่ในห่วงโซ่อาหารของสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น เมื่อคนในชุมชนบริโภคปลาที่อยู่ในแหล่งน้ำปนเปื้อนสารพิษเข้าไป คนก็จะได้รับสารพิษนั้นเข้าสู่ร่างกาย

ปอดสีดำ ผลพวงจากฝุ่นผงของถ่านหิน
มีผลการวิจัยออกมาว่า หนึ่งในสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด คือ ฝุ่นผงจากถ่านหิน  โดยการสูดหายใจเอาฝุ่งผงจากถ่านหินเข้าสู่ปอดนั้นสามารถทำให้คนงานเหมืองถ่านหินเป็นโรคปอด หรือที่เรียกว่า  “ปอดสีดำ” (black lung) ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ฝุ่นผงถ่านหินนั้นฝังตัวอยู่ในปอด ทำให้หายใจได้ลำบาก การวิจัยระบุว่าโรคนี้เกิดขึ้นกับร้อยละ 2.8 ของคนงานเหมืองถ่านหิน และร้อยละ 0.2 ของคนงานถ่านหินมีรายแผลเป็นในปอด ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรงที่สุดของโรคนี้ โดยในแต่ละปีนั้นมีผู้เสียชีวิตเกือบ 400 คน จากอาการปอดสีดำนี้


ถ่านหินสะอาดคือความพยายามของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลบล้างภาพลักษณ์ที่สกปรก เป็นคำประดิษฐ์ของอุตสาหกรรมถ่านหิน เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้ถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกน้อยลงนั้นมีราคาสูงมาก และหากภาครัฐยังคงเสพติดอยู่กับพลังงานถ่านหิน ประชาชนอาจต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะลบปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมออกไปได้ทั้งหมด โรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้ทุกคนตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ อันเกิดขึ้นจากมลพิษของถ่านหิน ไม่ว่าจะเป็นอายุเท่าใด หรือมีร่างกายแข็งแรงเพียงใด

                                                                                      ที่มา: Greenpeace Thailand 

: อันตรายจากแสงสีฟ้า หน้าจอคอม!!

: อันตรายจากแสงสีฟ้า หน้าจอคอม!!

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือจอสัมผัส หรือ Smartphone แม้กระทั่งคอมพิวเตอร์พกพา หรือ Tablet กลายเป็นปัจจัยที่ห้า สำหรับทุกคนไปแล้ว แต่ละคน อย่างน้อยต้องมีอุปกรณ์พกพาเหล่านี้ ติดตัวคนละ 1 ชิ้นกันเป็นอย่างน้อย ไว้สำหรับพูดคุย ติดต่อสื่อสารกัน หรือไม่ก็เล่นเกมส์ อ่านข่าว ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ หรือไม่ว่าจะทำงาน หรือซื้อขายสินค้า ก็ทำได้บน Smartphone ได้อย่างง่ายดาย


แสงสีฟ้า คือ แสงที่ผสมอยู่ในช่วงแสงสีขาว ที่มนุษย์มองเห็น โดยแสงขาวแบ่งได้ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และ แดง แสงสีฟ้า จะผสมอยู่ในช่วงน้ำเงินกับคราม แสงสีฟ้า คือ คลื่นแสงพลังงานสูง ที่มีความยาวคลื่น 400-500 นาโนเมตร โดยแสงสีฟ้านั้น จะมีอยู่รอบตัวเรา พบได้ในแสงแดด หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ แต่ที่พบมากที่สุด คือ หน้าจอคอมพิวเตอร์, มือถือสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต ที่นิยมใช้กันตลอดเวลามากกว่า อุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตาของเรา อย่างที่เราคาดไม่ถึง
จากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า แสงสีฟ้า (Blue Light) จะทำให้เซลล์ตายได้ เนื่องจากแสงสีฟ้า มีพลังงานมากพอที่จะไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ภายในลูกตา แล้วสารอนุมูลอิสระ จะทำให้เซลล์จอประสาทตาตายได้ อาจส่งผลทำให้เกิด โรคจอประสาทตาเสื่อม คือ จะมีอาการมองภาพตรงกลางไม่ชัด เกิดการมองภาพบิดเบี้ยวไป เหมือนมีจุดดำบังตรงกลางภาพ และโรคนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

แสงสีฟ้า ยังถือเป็นเรื่องเล็ก แต่มีอีกประเด็นที่กำลังเป็นมหันตภัยเงียบ คือ “ตาขี้เกียจ” (Amblyopia)
ตาขี้เกียจ” คือ ภาวะที่ตานั้นไม่ได้ใช้งานนานๆ มันจะหยุดการทำงานแค่นั้น เช่น ถ้ามีตาข้างหนึ่งดี อีกข้างมีสายตาสั้นมากๆ ร่างกายจะใช้ตาข้างที่ดี แล้วไม่ใช้ตาข้างสายตาสั้นมากๆนั่นหมายความว่า ตาข้างนั้น อาจจะมองเห็นแค่นับนิ้วได้ ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะใช้การเลสิก หรือแว่นสายตา ก็ช่วยไม่ได้ ยกเว้นแต่แก้ไขก่อนอายุ 8 ขวบ สายตาขี้เกียจ มักเจอข้างเดียวมากกว่า 2 ข้าง แต่ผมก็เคยเด็กที่เป็นทั้งสองข้าง น่าสงสารมาก
เพราะเจอเมื่อตอนอายุ 12 ขวบไปแล้ว และเขาต้องเป็นอย่างนั้นไปตลอดชีวิต ซึ่งแนะนำว่า ควรจะป้องกันไว้ ตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ยังเด็กๆ เลยดีกว่าผู้ปกครองท่านใด ที่เลี้ยงลูกด้วย มือถือ หรือ แทบเล็ต ควรจะดูแลบุตรหลานของท่าน ให้ห่างจาก อุปกรณ์พกพาพวกนี้ ไว้ก่อนดีกว่า
 ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากแสงสีฟ้า

·         หมั่นตรวจเช็คดวงตาปีละหน ป้องกันอาการเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สายตา และควรใส่ใจตรวจสอบดวงตาว่า มีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น ตาแห้งง่าย ไม่ควรใช้งานสายตาเป็นเวลานานติดต่อกัน หากจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือทำงานกับแสงจ้าเป็นเวลานาน ก็ควรพักสายตาทุก 30-45 นาที
·         การติดฟิล์มกันรอย ที่มีคุณภาพดี และมีประสิทธิภาพ ในการถนอมสายตา ช่วยกรองแสงสีฟ้าออกจากหน้าจอได้

·         การบำรุงสายตาด้วยอาหารที่มีประโยชน์ อย่าง ผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอ ซี อี เบต้าแคโรทีน และไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แครอท, ผักบุ้ง, ตำลึง, ผักคะน้า, มะละกอ, มะม่วงสุก ก็สามารถช่วยบำรุงและถนอมสายตาได้ค่ะ