: การละลายของแผ่นภูเขาน้ำแข็ง
แผ่นภูเขาน้ำแข็งคือมวลดินแดนน้ำแข็งกลาเซียร์ขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ขนาด
50,000
ตารางกิโลเมตร (20,000 ตารางไมล์) ปัจจุบันนี้
โลกมีแผ่นภูเขาน้ำแข็งที่สำคัญซึ่งครอบคลุมทวีปกรีนแลนด์ (Greenland) และแอนตาร์กติกา (Antarctica) ทั้งสองดินแดนภูเขาน้ำแข็งนี้เป็นแหล่งน้ำแข็งที่บรรจุน้ำจืดถึงร้อยละ
99 ของแหล่งน้ำทั้งหมดในโลกใบนี้
แผ่นภูเขาน้ำแข็งแอนตาร์ติคมีขนาดประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตร
(5.4 ล้านตารางไมล์) และมีน้ำแข็ง 30 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร
(7.1 ล้านลูกบาศก์ไมล์)
ภูเขาน้ำแข็งกรีนแลนด์มีขนาดพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านตารางกิโลเมตร
(656,000 ตารางไมล์) และภูเขาน้ำแข็งครอบคลุมทั้งทวีปกรีนแลนด์เป็นส่วนใหญ่
(NSIDC).
ดินแดนขั้วโลกมีความสำคัญในการขับเคลื่อนสภาพภูมิอากาศของโลก
เมื่อโลกมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับความร้อนในมหาสมุทร ทำให้เกิดการละลายของภูเขาน้ำแข็งที่ดูดซับความร้อนจากมหาสมุทรบริเวณโดยรอบ
เมื่อภูเขาน้ำแข็งละลาย ส่งผลต่อการลดลงของแหล่งน้ำจืดจากภูเขาน้ำแข็ง
เกิดการเปลี่ยนแปลงของทิศทางของกระแสน้ำในมหาสมุทร
และสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อมูลจากองค์การนาซ่า (NASA) จากการสำรวจผ่านสัญญาณดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าแผ่นภูเขาน้ำแข็งในทั้งทวีปแอนตาร์กติกาและทวีปกรีนแลนด์ที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาน้ำแข็งได้สูญเสียมวลน้ำแข็งไป
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ทวีปแอนตาร์กติกาได้สูญเสียแผ่นภูเขาน้ำแข็งไปแล้ว
134 พันล้านเมตริกตัน/ปี
ในขณะที่ทวีปกรีนแลนด์ได้ได้สูญเสียแผ่นภูเขาน้ำแข็งไปแล้ว 287 พันล้านเมตริกตัน/ปี ดังรูป
ที่มา:
Environment, 2016 ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม